วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และกราฟิก สำหรับบรรจุภัณฑ์ ร้านทีน เบเกอรรี่ ส.3 สรุป ( Result )

1. กล่อง Cookie ร้านทีน เบเกอรี่แบบเสร็จสมบูรณ์


2. กล่องขนมเอแคลร์ ร้านทีน เบเกอรี่แบบเสร็จสมบูรณ์

การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และกราฟิก สำหรับบรรจุภัณฑ์ ร้านทีน เบเกอรรี่ ส.2 สร้างสรรค์ตามสมมุติฐาน ( Resume )


1. การออกแบบโลโก้สินค้าใหม่ ร้านทีน เบเกอรี่ ( Teen Bakery )


แนวความคิด
       TEEN BAKERY ที่แปลว่าร้านเบเกอรี่สำหรับวัยรุ่น ออกแบบมาให้มีสีสันสดใสน่ารัก เหมาะสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษาและคนวัยทำงาน

2. แบบร่างกล่อง Cookie ร้านทีน เบเกอรี่ ( Teen Bakery )


แนวความคิด
         ออกแบบมาให้มีสีสันสดใสน่ารัก เหมาะสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษาและคนวัยทำงาน

3. แบบร่างกล่องขนมเอแคลร์ ร้านทีน เบเกอรี่ ( Teen Bakery )


แนวความคิด
        ออกแบบมาให้มีสีสันสดใสน่ารัก เหมาะสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษาและคนวัยทำงาน


การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และกราฟิก สำหรับบรรจุภัณฑ์ ร้านทีน เบเกอรรี่ ส.1 สืบค้น ( Research )



การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และกราฟิก
สำหรับบรรจุภัณฑ์ ร้านทีน เบเกอรรี่

ส.1 สืบค้น ( Research )
การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์
ร้านทีนเบเกอรี่ ( Teen Bakery )

การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ร้านทีนเบเกอรี่ (TeenBakery ) เป็นการต่อเนื่องจากโครงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้กับร้านค้าในแขวง จันทรเกษม โดยใช้สินค้าตัวเดิมแต่พัฒนาออกมาในทิศทางของตนเอง โดยสร้างแบรนด์สินค้าขึ้นมาให้เพื่อเป็นขู่แข่งกับผู้ประกอบการที่เราได้ทำในโครงการก่อนหน้านี้

1. กรณีศึกษาภาพรวมร้านพิมพ์เบเกอรี่


1.1 ข้อมูลการตลาดของสินค้า
          การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และการผลิต ในปัจจุบัน มีร้านค้า-ที่ทำการ ชื่อร้าน พิมพ์เบเกอรี่ รับจ้างผลิต - รับจ้างจำหน่ายและสั่งทำ ส่งออกตามร้านกาแฟ และออฟฟิต

1.2 ราคาจำหน่าย
          ราคาขาย เริ่มต้นที่ 15-25 บาท ทุกประเภทของสินค้า
1.3 ปัจจุบันสภาพ/ปัญหาที่เกิดขึ้น/ความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 
          สภาพปัจจุบัน/ ปัญหาที่เกิดขึ้น/อุปสรรคจุดเด่นทางการขาย ไม่เป็นที่น่าสนใจใน
ท้องตลาดต้องการที่จะพัฒนาโลโก้ให้ผู้พบเห็นเกิดความสนใจมากยิ่งขึ้น

1.4 คู่แข่งทางการค้าในพื้นที่
          ร้านเบเกอรี่ ”ปัง ปัง คับ” ภายในศูนย์อาหาร หอส้มตำภายใน มหาวิทยาลัย
ราชภัฏจันทรเกษม

1.5 ความต้องการพัฒนา ผลิตภัณฑ์เดิม /สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่/ บรรจุภัณฑ์เดิม บรรจุภัณฑ์ใหม่
          ต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจมากกว่าเดิมต้องการพัฒนาโลโก้และ บรรจุภัณฑ์



2. กรณีศึกษาข้อมูลสินค้าและบรรจุภัณฑ์ร้านพิมพ์เบเกอรี่

สิ้นค้า : ขนมเอแคลร์

 


  



ส่วนประกอบหลัก
แป้งสาลี / แป้งข้าวโพด / น้ำตาลทราย / เกลือ / เนย / น้ำ / ไข่ไก่
นมสด / กลิ่นวานิลลา

น้ำหนักรวมหลังอบเสร็จชิ้นละ : 20 กรัม
บรรจุภัณฑ์ : เป็นกล่องพลาสติกชนิด พอลิไวนิลคลอไรด์
(Polyvinylchloride : PVC) มีคุณสมบัติ
- มีความแข็งแรงดี ทนทานต่อสภาวะอากาศและสิ่งแวดล้อมปกติ
- ต้านทานต่อสารเคมีและน้ำ
- เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี
- สามารถผสมสีและแต่งสีได้อย่างไม่จำกัด
- สามารถเติมสารเติมแต่งต่างๆ เพื่อปรุงแต่งสมบัติของผลิตภัณฑ์

สิ้นค้า : Cookie





ส่วนประกอบหลัก
แป้งสาลี / แป้งข้าวโพด / น้ำตาลทราย / เกลือ / เนย / น้ำ / ไข่ไก่
นมสด

น้ำหนักรวมหลังอบเสร็จชิ้นละ : 10 กรัม
บรรจุภัณฑ์ : เป็นถุงพลาสติกชนิด พอลิไวนิลคลอไรด์
(Polyvinylchloride : PVC) มีคุณสมบัติ
- มีความแข็งแรงดี ทนทานต่อสภาวะอากาศและสิ่งแวดล้อมปกติ
- ต้านทานต่อสารเคมีและน้ำ
- เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี
- สามารถผสมสีและแต่งสีได้อย่างไม่จำกัด
- สามารถเติมสารเติมแต่งต่างๆ เพื่อปรุงแต่งสมบัติของผลิตภัณฑ์
   ตั้งแต่แข็ง และคงตัว จนถึงอ่อนนิ่ม และยืดหยุ่นมากๆ
   สามารถสลายตัวเองได้

3.กรณีศึกษาความสำคัญและปัญหาของร้านพิมพ์เบเกอรี่



แสดงผลงานสอบแบบสรุปของร้าน Pimbakery




ภาพการสัมภาษณ์






Mood board ส.1 - ส.2



การออกแบบโลโก้ร้านพิมพ์ เบเกอรี่



โครงการ : การศึกษาและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ของร้านพิมพ์เบเกอรี่ ในเขต ซอยเสือใหญ่ เขตจันทรเกษม

 
โครงการ : การศึกษาและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ของร้านพิมพ์เบเกอรี่
ในเขต ซอยเสือใหญ่ เขตจันทรเกษม
รายวิชาออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ภาคเรียนที่ 1 / 2556
ภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจและจดจำได้ง่ายยิ่งขึ้นชื่อ/กลุ่ม/ผู้ให้สัมภาษณ์ : ร้านพิมพ์เบเกอรี่  ชื่อผู้มีอำนาจตัดสินใจ : นายประทีป ผลพิกุล



ชื่อ-สกุล

หมายเลขโทรศัพท์และโทรสาร

นายประทีป ผลพิกุล

 081-621-4093
ประเภทสินค้า

 ขนมปัง เบเกอรี่
วิธีการจัด-วางจำหน่าย-จัดตั้งแสดงสินค้า ณ จุดขาย
 วางจำหน่ายโดยการใช้เคาเตอร์จัดแสดงโชว์สินค้า
ความดี-สรรพคุณ-วิธีใช้ ผลิตภัณฑ์
สดใหม่เสมอ ผลิตเป็นวันต่อวัน
ประวัติ


สินค้า

บรรจุภัณฑ์
เปิดกิจการมาแล้ว 1 ปี ภายในมหวิทยาลัยราชภัฏจันเกษม โรงอาหารอาคาร 15


สินค้า ขนมปัง เบเกอรี่ เช่น แยมโรล เอแคลร์ ขนมปังเนยสด คุ๊กกี้ เค้ก แพนเค้ก

ใช้บรรจุภัณฑ์กล่องพลาสติกและถุงพลาสติก

2. ข้อมูลการตลาดของสินค้า
    2.1 การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และการผลิต ในปัจจุบัน
  • มีร้านค้า-ที่ทำการ ชื่อ ร้าน พิมพ์เบเกอรี่
  • รับจ้างผลิต - รับจ้างจำหน่ายและสั่งทำ ส่งออกตามร้านกาแฟ และออฟฟิต
    2.2 ราคาจำหน่าย
  • ราคาขาย เริ่มต้นที่ 15-25 บาท ทุกประเภทของสินค้า

3.ปัจจุบันสภาพ/ปัญหาที่เกิดขึ้น/ความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์
    3.1 สภาพปัจจุบัน/ ปัญหาที่เกิดขึ้น/อุปสรรค

  • จุดเด่นทางการขาย ไม่เป็นที่น่าสนใจในท้องตลาด
  • ต้องการที่จะพัฒนาโลโก้ให้ผู้พบเห็นเกิดความสนใจมากยิ่งขึ้น
   
    3.2 คู่แข่งทางการค้าในพื้นที่
  • ร้านเบเกอรี่ ”ปัง ปัง คับ” ภายในศูนย์อาหาร หอส้มตำ
  • ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
   
    3.3 ความต้องการพัฒนา ผลิตภัณฑ์เดิม /สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่/ บรรจุภัณฑ์เดิม /บรรขถภัณฑ์ใหม่
  • ต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจมากกว่าเดิม
  • ต้องการพัฒนาโลโก้และบรรจุ




สัปดาห์ที่ 12

            รายงานข่าวหน้าชั้นเรียนเรื่องการออกแบบกล่องช๊อคโกแลตและกล่องถั่วปากอ้า อาจารย์สั่งงานเดี่ยวและแนะนำว่าจะต้องทำงานอะไรบ้างการทำงานแบบมีขั้นตอนเทคนิคการวาง Font การออกแบบกราฟิก การนำเสนอ ส.1 ส.2 ส.3  เทคนิคการทำ Sketup 3D, Photoshop 3D เปิดดูคลิปเทคนิคการทำ 3D
            การสร้างสรรค์ผลงานออกแบบ Packaging ในเว็บไซต์ Youtube สอนการสร้างสรรค์ผลงานออกแบบในโปรแกรม illustrator สอนการปั้นงาน 3D  ในโปรแกรม illustrator เลือกดูความถนัดของตนเอง




สัปดาห์ที่ 6

            รายงานข่าวเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์กล่องใส่ถุงเท้า รายงานข่าวเกี่ยวกับเครื่องดื่ม  ทำแบบสอบถามหรือสัมภาษณ์ความต้องการของผู้ผลิต ความต้องการของผู้บริโภค รูปแบบบรรจุภัณฑ์ สอบถามผู้บริโภคถึงความสะดวกอุปกรณ์ที่จะตอบสนองความต้องการในการทานขนม  กรณีศึกษาสร้างแผนการศึกษาจัดขั้นตอนในการอธิบายและสรุป นำปัญหามาเป็นโจทย์ในการทำงาน ขาดอัตลักษณ์ ร้านนี้มีเอกลักษณ์เป็นสินค้ากินขนมปังชนิดนี้เพราะอะไร ความต้องการของผู้บริโภค ว่านำกลับบ้านหรือทานที่โรงอาหารเพื่อลดวัสดุ เราสามารถออกแบบจานรอง+กราฟิก+สามารถตกแต่งการจัดวาง ปัญหาของถุงกับอาหารอาจมีสารปนเปื้อน+สัมผัสมือโดยตรง เราสามารถแก้ไขได้โดยการใช้ตังเองต้องการบรรจุภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าและถูกสุขลักษณ์สุขภาพ สามารถเพิ่มลูกเล่นของขนมปัง

สัปดาห์ที่ 5

            วิเคราะห์ถึงความต้องการของผู้บริโภคและผู้ผลิตนำจุดเด่นจุดด้อยของสินค้ามาวิเคราะห์เพื่อนำไปออกแบบบรรจุภัณฑ์ต่อไป



          ศึกษาถึงส่วนประกอบของสินค้าศึกษาถึงบรรจุภัณฑ์ว่าใช้วัสดุอะไรมาทำมีจุดเด่น จุดด้อยตรงไหน  ตรวจงานกลุ่ม อาจารย์แนะนำให้เพิ่มจุดประสงค์ลงในมูดบอร์ด เพื่อจะได้ชัดเจนในการ Present
ถ่ายรูปภาพร้านค้าโดยรวมทั้งข้างในอาคารและนอกอาคาร เพื่อจะได้เห็นภาพรวมที่ชัดเจน กลับไปปรับปรุงพัฒนา Blog ใส่ข้อมูลการศึกษาทั้งหมด ลงใน Blog และสมัคร Gmail ให้ผู้ประกอบการและสมัคร Fanpage Facebook ให้ผู้ประกอบการเพื่อเป็นการ Present ร้านและสินค้า

สัปดาห์ที่ 3

            รายงานข่าวบรรจุภัณฑ์เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ใส่ไข่ บรรจุภัณฑ์ใส่ไข่มีปัญหามากมายเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์แบบเก่าของไข่  วาริเส็กจึงออกแบบบรรจุภัณฑ์ใส่ไข่แบบใหม่ที่รูปแบบใส่ไข่เป็นรูปวงรีประกลบกันที่สามารถใช้ได้ดีกว่าเดิม สรุปแปลข่าวบรรจุภัณฑ์ยี่ห้อ Me จากนั้นดาวน์โหลดโปรแกรม Boxgen


           สอนการ Crack โปรแกรม ศึกษาวิธีการใช้โปรแกรมขั้นตอนการใส่ขนาดของกล่องเพื่อขึ้นรูป การปิดเปิดกล่องในรูปแบบต่างๆ จากนั้นศึกษาการ Save ไฟร์งาน Boxgen ให้ Save ออกมาสามารถใช้ได้กับ  illustrator จากนั้นตรวจงานนามบัตรที่อธิบายเกี่ยวกับความเป็นตัวเอง ศึกษาเกี่ยวกับการกรอกแบบฟอร์มสรุปผลการสัมภาษณ์และผลการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น

สัปดาห์ที่ 2

           สมัคร art.chandra.ac.th/claronline สมัครและทำแบบทดสอบก่อนเรียน แนะนำเว็บไซต์ dict.longdo.com  เป็นเว็บไซต์ดิกทั่วไป ใช้แปลภาษา


           ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ศึกษาส่วนประกอบต่างๆ ของการออกแบบ  ให้สำรวจสินค้าเขตรอบๆ จันทรเกษม ชื่องานคือ  การออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการ ผู้ผลิตรายย่อยที่ต้องการมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของตนเอง 
           การบ้านให้นักศึกษานำบรรจุภัณฑ์ที่เตรียมมาศึกษาอธิบายรายระเอียดบนบรรจุภัณฑ์ว่าส่วนไหนคืออะไร พร้อมอัพลง Blog ออกแบบนามบัตรแนะนำตนเองโดยมีโลโก้ของตรามหาลัยและรูปตนเองอยู่ในนามบัตร

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การบ้านของสัปดาห์ที่2

ศึกษาบรรจุภัณฑ์ HALLS COLL


การศึกษาบรรจุภัณฑ์

การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมอง
(Product and Package Visual Analysis)
โดย นายภูริทัต มีสมบัติ
25 มิถุนายน 2556
    
    การศึกษาข้อมูลของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ก่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นในการเรียนการสอน ทั้งยังได้ศึกษาข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ศึกษา ต่อไปนี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ตนได้วิเคราะห์ข้อมูล ผลิตภัณฑ์นั้นคือ HALLS COOL



ภาพที่ 1.ส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์สินค้าที่มองเห็นของป๊อกกี้ HOLLS COOL
ที่มา : ภูริทัต มีสมบัติ  2556

          หมายเลข 1 คือ โครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ที่เป็นกระดาษ
หมายเลข 2 คือ ข้อความ-กราฟิกอัตลักษณ์แสดงชื่อยี่ห้อสินค้าที่เป็นภาษาอังกฤษ
หมายเลข 3 คือ ข้อความบอกรสชาติของสินค้า
หมายเลข 4 คือ ภาพกราฟิกที่สื่อความหมาย
หมายเลข 5 คือ ข้อความบอกถึงสูตรใหม่
หมายเลข 6 คือ ข้อความบอกคุณค่าทางโภชนาการ
หมายเลข 7 คือ ที่เปิด

 



ภาพที่ 2 ส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์สินค้าที่มองเห็นของ HALLS COOL

หมายเลข  8  คือ ข้อความบอกประเภทสินค้าเป็นภาษาไทย
หมายเลข  9 คือ ข้อความ-กราฟิกอัตลักษณ์แสดงชื่อยี่ห้อสินค้าที่เป็นภาษาไทย
หมายเลข 10 คือ ข้อความบอกถึงระดับความเย็น
หมายเลข 11 คือ ข้อความบอกประเภทสินค้าเป็นภาษาอังกฤษ
หมายเลข 12 คือ ข้อความ-กราฟิกอัตลักษณ์แสดงชื่อยี่ห้อสินค้าที่เป็นภาษาอังกฤษ





ภาพที่ 3 ส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์สินค้าที่มองเห็นของ HALLS COOL

หมายเลข 13 คือ  ข้อความภาษาอังกฤษแสดงถึงส่วนประกอบต่างๆ
หมายเลข 14 คือ  ข้อความแสดงถึง น้ำหนักสุทธิ
หมายเลข 15 คือ  ข้่อความแสดงถึงเลข อย.
หมายเลข 16 คือ  บาร์โค้ด หรือ รหัสแท่ง เป็นเครื่องหมายแทนข้อมูลชนิดหนึ่งที่
หมายเลข 17 คือ  ข้อความแสดงที่อยู่ติดต่อ

หมายเลข 18 คือ  ที่ดึงบรรจุภัณฑ์ด้านในออกมา

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กิจกรรมสืบค้นความรู้ความหมายของคำว่า -1.การออกแบบกราฟิก(Graphic Design) -2.การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design)

1.การออกแบบกราฟิก (Graphic Design ) คือ

   คำว่า กราฟิก (Graphic) หรือที่ภาษาไทยบางส่วนนิยมเขียนว่า กราฟฟิก เป็นภาษากรีก มาจากคำว่า Graphikos ที่หมายถึงการเขียนภาพด้วยสีและภาพขาวดำ และคำว่า  Graphein มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น หากรวมทั้งคำว่า Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกัน กราฟฟิกจะหมายถึงวัสดุใด ๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และข้อความตัวอักษร ภาพวาดอาจจะเป็น แผนภาพ ( Diagram ) ภาพสเก็ต ( Sketch ) หรือแผนสถิติ ( Graph ) หรืออาจเป็นคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง ( Title ) คำอธิบายเพิ่มเติมของแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ และภาพโฆษณา  อาจวาดเป็นการ์ตูนในรูปแบบหรือประเภทต่างๆ ภาพสเก็ต สัญลักษณ์ และภาพถ่าย สามารถใช้เป็นกราฟิกเพื่อสื่อความหมายในเรื่องราวที่แสดงข้อเท็จจริงต่าง ๆได้ กราฟิกทางการศึกษา เป็นสื่อการสอนที่สื่อถึงเรื่องราวต่าง ๆ โดยใช้เส้น ภาพวาดและสัญลักษณ์ ที่ใกล้เคียงความเป็นจริง แทนคำพูดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของแผนที่ แผนภาพ ภาพโฆษณา การ์ตูน และแผนสถิติ ฯลฯ หากอ้างอิงจากวิกิพีเดีย Graphic คือ รูปภาพสัญลักษณ์ที่มองเห็นด้วยตา (เป็นทัศนศิลป์อย่างหนึ่ง) และมีหน้าที่สื่อความหมายจากสัญลักษณ์สู่ความหมาย คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่ากราฟิกดีไซน์เป็นงานที่ทำด้วยคอมพิวเตอร์หรือเป็นการสร้างแอนิเมชันสามมิติ ซึ่งในความเป็นจริง คอมพิวเตอร์เป็นเพียงเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่ช่วยในการสร้างงานกราฟิกดีไซน์ได้ เช่นเดียวกับ ดินสอ ปากกา พู่กัน กราฟิกดีไซน์ เป็นการทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ graphic design คำว่า graphic มีคำในภาษาไทยที่ใช้แทนได้คือ เรขศิลป์, เลขนศิลป์ หรือ เรขภาพ ส่วน design แปลว่า การออกแบบ เมื่อรวมกันแล้ว กราฟิกดีไซน์จึงมีหมายความว่า การออกแบบเรขศิลป์ หรือ การออกแบบเลขนศิลป์  

อ้างอิง : http://graphics.in.th/what-is-graphic/

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

คำว่า กราฟิก (Graphic) ที่มักเขียนผิดเป็น กราฟิกส์ กราฟิกส์ กราฟิก นั้น มีรากศัพท์มาจากคำว่า"Graphikos" ในภาษากรีก แปลว่า การวาดเขียน หรือ คำว่า "Graphein" ที่แปลว่า การเขียน ซึ่งมีผู้ให้นิยามไว้หลายลักษณะ ดังนี้
ศิลปะอย่างหนึ่งที่แสดงออกทางความคิดโดยการใช้เส้น รูปภาพ ไดอะแกรม ฯลฯ
การสื่อความหมายด้วยภาพวาด ภาพสเก็ชแผนภาพ ภาพถ่าย ที่ต้องอาศัยศิลปะและศาสตร์เข้ามาช่วย เพื่อให้ผู้ดูเกิดความคิดและตีความหมายได้ตรงตามที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการสื่อ
โสตทัศนวัตถุที่ผลิตขึ้นเพื่อแสดงสัญลักษณ์หรือความหมายของสิ่งหนึ่งสิ่งใด ทำให้ผู้ดู มองเห็นความจริง หรือความคิดอันถูกต้องชัดเจนจากกราฟิกส์นั้นๆ
การพิมพ์ การถ่ายภาพ และการทำหนังสือ
โดยสรุป  กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ 
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    งานกราฟิกเป็นส่วนสำคัญที่มีบทบาทยิ่งต่อการออกแบบและกระบวนการผลิตสื่อ โดยเฉพาะสื่อที่ต้องการการสัมผัสรับรู้ด้วยตา (Visual Communication Design) ได้แก่ หนังสือ นิตยสารวารสาร แผ่นป้ายโฆษณา บรรจุภัณฑ์ แผ่นพับ แผ่นปลิว โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เว็บไซต์ ฯลฯ นักออกแบบจะใช้วิธีการทางศิลปะและ หลักการทางการออกแบบร่วมกันสร้างสรรค์รูปแบบสื่อเพื่อให้เกิดศักยภาพ สูงสุดในการที่จะเป็นตัวกลางของกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร นักออกแบบกราฟิกจะต้องค้นหา รวบรวมข้อมูลต่างๆ ขบคิดแนวทางและวาง รูปแบบที่ดีที่สุดในอันที่จะทำให้สื่อนั้นสามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย (Target Group) ให้เกิดการรับรู้ยอมรับ และมีทัศนคติที่ดีต่อการตอบสนองสื่อที่มองเห็น (Visual Message)
            วิธีการออกแบบ และวิธีแก้ปัญหาการออกแบบโดยการนำเอารูปภาพประกอบ (Illustration) ภาพถ่าย (Photography) สัญลักษณ์ (Symbol) รูปแบบและขนาดของตัวอักษร (Typography) มาจัดวางเพื่อให้เกิดการนำเสนอข้อมูลอย่างชัดเจน เกิดผลดีต่อกระบวนการ สื่อความหมาย และแสดงคุณค่าทางการออกแบบอย่างตรงไปตรงมา งานออกแบบกราฟิก จึงมีลักษณะเฉพาะซึ่งมีวิธีการและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างไปจากงานวิจิตรศิลป์ (Fine Arts) แต่ในบางกรณีผู้ออกแบบก็อาจจะสอดแทรกงานศิลปะแท้ๆ (Pure Arts) เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบกราฟิกเพื่อใช้สำหรับกระบวนการสื่อสาร การเรียนรู้ การตลาด การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ซึ่งอาจรวมกันเรียกว่า เป็นงานประยุกต์ศิลป์ (Apply Arts) ถ้าเป็นงานที่มีลักษณะเน้นหนักไปทางด้านธุรกิจ การพาณิชย์ ก็จะเรียกว่าเป็นงานออกแบบพาณิชย์ศิลป์ (Commercial Arts) และถ้าเป็น การเน้นวัตถุประสงค์ในแง่ของการสร่างสรรค์สื่อเพื่อการสื่อความหมายก็จะ รวมเรียกว่าเป็นงานออกแบบทัศนสื่อสาร (Visual Communication Design)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สรุปความหมายของการออกแบบกราฟฟิก ( Graphic Design ) คือ กราฟิกดีไซน์คือกระบวนการสร้างสรรค์อันเกิดจากการผสมผสานศิลปะและเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการสื่อสารความคิดออกไป (ในที่นี้น่าจะรวมถึงข้อมูล ข่าวสาร ความคิด
ทัศนคติ และความรู้สึก 


2.การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design) คือ

ความเป็นมาของการบรรจุภัณฑ์

 ในยุคหินเมื่อมนุษย์ล่าสัตว์ได้เขาก็จะใช้หนังสัตว์ หรือใบไม้ห่อหุ้มสัตว์ที่ล่ามาได้เพื่อป้องกันพวกแมลง แสงแดดและฝน นอกจากนี้ในการพกพาอาหารหรือวัตถุที่ต้องการ สิ่งที่ใช้ในการห่อหุ้มจะเป็น ใบไม้ เปลือกไม้ เปลือกหอย กระบอกไม้ กระเพาะสัตว์ หนังสัตว์ ฯลฯ เป็นต้น การรู้จักการแก้ปัญหาด้วยการนำเอาวัตถุดิบ (Raw Materials) จากธรรมชาติเจ้ามาเป็นอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายวัตถุมวลสาร การกระทำดังกล่าวจึงนับว่าเป็นที่มาของการบรรจุ (Filling) ต่อมามนุษย์เริ่มรู้จักการประดิษฐ์ คิดค้นภาชนะบรรจุด้วยการดัดแปลงคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุธรรมธรรมชาติให้มีรูปร่างและหน้าที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นนี่เอง จึงจัดว่าเป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ดั้งเดิม (Primitive Packaging Design) ที่มนุษย์ในสมัยก่อนได้กระทำขึ้นตามสภาพการเรียนรู้และการค้นพบวัสดุในแต่ละยุค

การออกแบบการบรรจุภัณฑ์ จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการค้าและการบริการ ในฐานะของสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่การขนส่งสินค้า (Aid Transportation) โดยทำหน้าที่ขั้นพื้นฐานอันดับแรกคือ ปกป้อง คุ้มครองสินค้าให้ปลอดภัยจากความเสียหาย อันเนื่องมาจากการกระทบกระเทือน และป้องกันสิ่งปนเปื้อนที่ไม่พึงประสงค์ (To Prevent Spillage And Contamination) ที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งสินค้าผลิตภัณฑ์จากโรงงานผลิตไปจนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค ซึ่งบทบาทนี้มีผลทำให้รูปแบบของบรรจุภัณฑ์ (Package Form) มีการพัฒนาขึ้นมารับรอง มีการออกแบบภาชนะบรรจุแบบปิด (Closed Container) เช่น ถังไม้ (Barrel) การรู้จักปิดผนึกบรรจุภัณฑ์ (Container Closure) เช่น มีฝาจุกปิดขวด (Bottle Plug Seals) ฯลฯ เป็นต้น เทคนิคและกรรมวิธีการบรรจุที่พัฒนาขึ้นตามหน้าที่ใช้สอยเหล่านี้ จึงเป็นผลทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายลักษณะตามกาลเวลา และการค้นพบวัสดุหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
  การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (packaging  design) หมายถึง  การกำหนดรูปแบบและโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ให้สัมพันธ์กับหน้าที่ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ เพื่อการคุ้มครองป้องกันไม่ให้สินค้าเสียหายและเพิ่มคุณค่าด้านจิตวิทยาต่อผู้บริโภค โดยอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสร้างสรรค์
อ้างอิง : http://netra.lpru.ac.th/~weta/c1/
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. เพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ ให้สามารถเอื้ออำนวยคุณประโยชน ์ด้านหน้าที่ใช้สอยได้ดี มีความปลอดภัยจากการคุ้มครองผลิตภัณฑ์ ความประหยัด ความมีประสิทธิภาพ ในการผลิต การบรรจุ การขนส่ง การเก็บรักษา การวางจำหน่าย และการอุปโภค ซึ่งทั้งนี้การออกแบบต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ด้านวิศวกรรมศาสตร์และ วิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยเป็นหลักใหญ่

     2. เพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถสื่อสาร และสร้างผลกระทบทางจิตวิยาต่อผู้บริโภค โดยใช้ความรู้ทางแขนงศิลปะเข้าเข้ามาสร้างคุณลักษณะของการบรรจุภัณฑ์ให้มี คุณสมบัติต่างๆ 
        - ความมีเอกลักษณ์พิเศษของผลิตภัณฑ์ 
        - ความมีลักษณะพิเศษที่สามารถสร้างความทรงจำหรือทัศนคติที่ดีต่อผลิตภัณฑ์ และบริษัทผู้ผลิต 
        - ความมี ลักษณะพิเศษที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้อุปโภคตลอดจนให้เข้าใจ ถึงความหมายและคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ ฯลฯ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------สรุปความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ( Packaging Design ) คือ   เพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ ให้สามารถเอื้ออำนวยคุณประโยชน์ด้านหน้าที่ใช้สอยได้ดี มีความปลอดภัยจากการคุ้มครองผลิตภัณฑ์ ความประหยัด ความมีประสิทธิภาพ ในการผลิต การบรรจุ การขนส่ง การเก็บรักษา การวางจำหน่าย และการอุปโภค  และทำให้ผลิตภัณฑ์ดูน่าสนใจมากขึ้น





สัปดาห์ที่ 1

ในชั่วโมงอาจารย์ได้สอนวิธีการปรับแต่ง Blog การจัดเรียงข้อความและรูปแบบ รูปภาพ

สอนการเขียนข้อความการส่งความหมายของการออกแบบกราฟฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์

สัปดาห์แรกมีกิจกรรมตามเกณฑ์มาตรฐานเดิม แต่จะเข้มขึ้นอีก เริ่มด้วย
1.ให้นศ.เข้าอ่านเมนูคำอธิบายรายวิชา และมาตรฐานการเรียนรู้ เล่มเอกสาร มคอ.3 ศึกษาคำอธิบายรายวิชา ศึกษาวัตถุประสงค์ หัวข้อเนื้อหาที่จะต้องเรียนรู้ วิธีการเรียน การร่วมกิจกรรม และดูตารางเวลาเรียน เวลาทำงานของผู้สอน จะได้เข้าใจว่า เรียนวิชานี้แล้วจะได้ความรู้อะไร จะติดต่อผู้สอนและต้องให้ความร่วมมือในการเข้าเรียนและทำกิจกรรมเยี่ยงใดบ้าง
3.ให้ตรวจสอบ แก้ไข หรือเพิ่มรายชื่อ และกรอกข้อมูลอีเมลส่วนตัว(@gmail.com)เท่านั้น แจ้งเบอร์โทรศัพท์ และสร้างเว็บบล็อกส่วนตัวตามเงื่อนไขที่แจ้งไว้ โดยแจ้ง-ทำลงในแบบบันทึกและประเมินผลการเรียน (ไฟล์ Google Spreadsheet) ที่สร้างให้คลิกเข้าทำ ไว้ให้แล้ว กรอกข้อมูลให้ตรงกับกลุ่มที่เรียนและรายชื่อที่ลงทะเบียน กรอกลงช่องล่างต่อเพิ่มสำหรับผู้ที่ลงทะเบียนภายหลัง ทำให้แล้วเสร็จภายใน 1 สัปดาห์และเริ่มบันทึกบล็อกนับแต่สัปดาห์แรกนี้
ภาคปกติกลุ่ม101 เรียนวันจันทร์ คลิกเข้าทำที่นี่
ภาคปกติกลุ่ม102 เรียนวันอังคาร คลิกเข้าทำที่นี่
ภาคนอกเวลา กลุ่ม 201 เรียนวันพฤหัสบดี คลิกเข้าทำที่นี่
3. การสมัครเป็นผู้เรียนในระบบอีเลิร์นนิ่ง ที่  http://chandraonline.chandra.ac.th/claroline เตรียมสอบก่อนเรียนในสัปดาห์ที่สอง
4.ให้นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนทั้งภาคปกติและภาคนอกเวลาให้เข้าทำแบบสำรวจก่อนเรียน
ARTD3302:แบบสำรวจศักยภาพและความพึงพอใจของผู้เรียน ก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ ตามเกณฑ์มาตรฐานผลการเรียนรู้หลักสูตรสาขาวิชาศิลปกรรม มจษ. ภาคเรียนที่1/2556 ทำแบบสำรวจ คลิกที่นี่

เปิดให้ทำถึงวันที่ 18 มิ.ย.12.00 น.5.สร้างเว็บบล็อกของ Blogger.com ตามรูปแบบที่กำหนดให้ คือใช้รหัสวิชานำ- เช่น artd3302-prachid ใช้ template blog เป็นแบบ Live on Blog ตั้งหน้าแสดงเป็น 2 คอลัมน์ ความกว้างเว็บบล็อก entire blog= 980 right side bar =330 เลือกภาพพื้นฺbackground imageจากหมวด เทคโนโลยี จัดวาง alingment =Center เป็นแบบกึ่งกลางระดับบน ไม่จัดเรียงภาพพื้นหลัง(Don't tile)

ตั้งค่าใส่คำอธิบายเว็บบล็อกเป็น " เว็บบล็อกสรุปผลการเรียนรู้ในรายวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ของ....(ชื่อเจ้าของบล็อก)" และเริ่มบันทึกสาระความรู้ที่ได้ลงบล็อกทันที ว่าได้ทำได้ความรู้จากการที่อาจารย์สั่งงาน-สอนความรู้ในชั่วโมงเรียนอย่างไรบ้างเรียนและฝึกปฏิบัติ-ทำตามแล้วสรุปผลการเรียนรู้ให้ได้ ความยาวของเนื้อหาแต่ละโพสต์แต่ละสัปดาห์ ต้องไม่ต่ำกว่า 10 บรรทัด (คะแนนกิจกรรมนี้ดูจากวันที่ที่โพสต์เนื้อหาลงบล็อกในแต่ละสัปดาห์)

6.เตรียมกิจกรรมแปลสรุปข่าวสารทางเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบนิเทศศิลป์ ให้หาข่าวสารความรู้ ความก้าวหน้าทางการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ จากเว็บบล็อกเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษ แปลสรุปเป็นไทย ใส่ใน Google Doc เริ่มรายงานหน้าชั้นในสัปดาห์ที่ 3( 26 มิ.ย.นี้) เรียงตามรายชื่อ ครั้งละ 3 คน ตอนต้นชั่วโมงเรียน พลาดแล้วไม่ย้อนหลัง
ปล.ในสัปดาห์ที่สอง จะมีการสอบวัดความรู้-ปฏิบัติก่อนเรียน ห้ามพลาด ห้ามขาด ห้ามลา
7.กิจกรรมสืบค้นความรู้เป็นการบ้านวันนี้ ให้สืบค้นความหมายของคำว่า
-1.การออกแบบกราฟิก(Graphic Design)
-2.การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design)
โดยทำลงในโพสต์บล็อกของตนเอง อย่างน้อยคำละ 3 ความหมาย พร้อมอ้างอิงที่มาอย่างถูกต้องตามหลักการอ้างอิงเอกสารทางวิชาการ (คลิกดู อ่าน ดาวน์โหลดตัวอย่างการเขียน ได้จากที่นี่) แล้วสรุปเป็นความหมายเดียว(เขียนสรุปด้วยตนเอง)ว่า
สรุปความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์หมายถึง......


การบ้าน   ให้ศึกษาความหมายของการออกแบบกราฟฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ และศึกษาความหมายของ

คำว่า กราฟฟิก แล้วสรุปความหมายของแต่ละคำ ปรับแต่ง Blog ตามที่อาจารย์บอก